Butter cake เค้กเนยชุ่มฉ่ำเนื้อแน่น สวัสดีครับอาจารย์

21:26:00 bakegazine 0 Comments


Butter cakes เข้าใจได้อีกอย่างว่า High-Fat cakes เป็นเค้กที่มีส่วนประกอบของไขมันเป็นหลัก
ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือเนย (Butter) ซึ่งรูปร่างและองค์ประกอบ (texture) ของเค้กเนยจะค่อนข้างเข้มข้น หนักแน่น สัมผัสรสชาติของเนยได้ชัดเจน เนยช่วยเพิ่มความอร่อยและละลายในปาก

การใช้เนยขาวแทนเนยสามารถทำได้แต่ไม่แนะนำเพราะรสชาติต่างกันชัดเจน เนยอร่อยกว่าเยอะ เค้กเนยมีการใส่แป้งค่อนข้างเยอะ เพื่อความอยู่ตัวและหนักแน่นของเค้ก

การทำเค้กเนยเรียกง่ายๆว่า Creaming method คือ การตีเนยกับน้ำตาลก่อนให้เป็นครีม

วิธีการทำเค้กเนย

1. ชั่งส่วนผสมทั้งหมดให้ถูกต้อง นำมาไว้ที่อุณหภูมิห้อง ร่อนของแห้งพักไว้

2. ตีเนยที่เริ่มอ่อนตัวด้วยหัวตีใบไม้ให้เป็นครีม ด้วยความเร็วปานกลาง

3. ค่อยๆใส่น้ำตาลทีละนิด ตีให้ครีมฟูเบาและขยายตัว

4. ใส่ไข่ทีละฟอง ตีให้เข้ากันด้วยความเร็วปานกลาง รอให้ส่วนผสมเข้ากันก่อนจึงใส่ไข่ใบต่อไป

5. ปาดโถตีบ่อยๆเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันทั่ว

6. ใส่ส่วนของแห้ง (แป้ง) สลับกับของเหลว เช่น นม โดยแบ่งใส่ซัก 2-3 ครั้ง

7. นำเข้าอบที่อุณหภูมิ 180 c กระทั่งสุก

สูตรเค้กเนย Bakegazine

แป้งเค้ก 1 ถ้วยตวง ร่อน
ผงฟู 1 ช้อนชา ร่อนพร้อมแป้ง
เกลือ หยิบนิ้ว
เนยเริ่มอ่อนตัว 100 g. (เนยรสจืดที่นำออกมาวางไว้ที่อุณหภูมิห้องซัก 15 นาที)
น้ำตาล 2/3 ถ้วยตวง
ไข่ไก่ 2 ฟอง
นม 50 มิลลิลิตร

เทคนิคในการปรับสมดุล (Balance) ของเค้กเนย

เนื่องจากเค้กเนยเป็นเค้กพื้นฐานที่อบให้สมบูรณ์แบบได้ยาก เนื่องจากมีส่วนผสมเพียงไม่กี่อย่าง จะสังเกตุว่าบางทีอบสุกช้าจนเค้กแห้งหมดแล้ว บางทีอบก็หน้าเค้กแตก เค้กไม่ชุ่มฉ่ำ เกล็ดน้ำตาลไม่ละลาย ฯลฯ

การทำเค้กเนยจึงควรรู้เทคนิคพิเศษ เช่น อุณหภูมิของเนยที่นำมาตี ปริมาณของแห้ง ของเหลว น้ำตาลควรจะเป็นเกล็ดเล็ก นมที่ใช้ควรมีอุณหภูมิที่อุณหภูมิห้อง เป็นต้น

การ Balance เค้กเนย จึงมีส่วนช่วยในการทำเค้กเนยให้สำเร็จด้วยดี มีเทคนิคดังนี้

ถ้ามีการเพิ่มของเหลวในสูตร เช่น นม ต้องลดไข่และเนย
ถ้ามีการเพิ่มไข่ ต้องเพิ่มเนยด้วย
ถ้ามีการเพิ่มผงโกโก้ ต้องเพิ่มน้ำในปริมาณ 80% ของปริมาณผงโกโก้ที่เพิ่มขึ้น
ยิ่งอบใส่พิมพ์ขนาดเล็กลง ต้องยิ่งเพิ่มของเหลวในสูตร เพราะปริมาณน้ำที่ระเหยจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอบนานกว่าจะสุก